วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

อาริสโตเติล


อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล  (พ.ศ. 160 (384 ก่อนค.ศ.) - 7 มีนาคม พ.ศ. 222 (322 ก่อนค.ศ.)) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา
นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ
อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษากายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา   ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา   เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก
  • ปรัชญาของอาริสโตเติล
  • อภิปรัชญาของอาริสโตเติล
  • ปรัชญาธรรมชาติของอาริสโดเติล
  • จิตวิทยาของอาริสโตเติล
  • คำสอน


  • คำสอนที่น่าสนใจของอริสโตเติลได้แก่ ความเชื่อที่ว่าโลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ
    ในเรื่องเกี่ยวกับจักรวาลนั้นอริสโตเติลเข้าใจว่า โลกเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรรอบ ๆ สวรรค์นั้นอยู่นอกอวกาศ โลกอยู่ด้านล่างลงมา น้ำอยู่บนพื้นโลก ลมอยู่เหนือน้ำ และไฟอยู่เหนือลมอีกทีหนึ่ง ธาตุต่าง ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่ทว่าธาตุที่ประกอบเป็นสวรรค์นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงจะมีรูปร่างเช่นนั้นตลอดไป ซึ่งคำสอนต่อมาในปี ค.ศ. 1609 โจฮันน์ เคปเลอร์(Johann Kepler) ได้ตั้งกฎของเคปเลอร์ ซึ่งเป็นการประกาศว่า โลกเราโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี เป็นการลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของอาริสโตเติล
    และในอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ กรณีของวัตถุสองอย่างที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน จะตกลงถึงพื้นไม่พร้อมกันตามหลักของอริสโตเติล ซึ่งกาลิเลโอ ได้ทำการพิสูจน์ต่อหน้าสาธารณชนที่หอเอนแห่งปิซาว่าเป็นคำสอนที่ไม่จริงในปี ค.ศ. 1600
    แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของอริสโตเติลทางด้านชีววิทยานั้นเป็นที่ยกย่องกันมาก เพราะเขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา และพวกสัตว์เลื้อยคลานและได้ทำการบันทึกไว้อย่างละเอียดมาก เขาได้แบ่งสัตว์ออกเป็น 2 พวกใหญ่ คือ พวกมีกระดูกสันหลัง (Vertebrates) และพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) นับว่าอริสโตเติลเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก
  • ขอบคุณที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org

กูลเยลโม มาร์โกนี

File:Marconi.jpg


ประวัติ
เกิด 25 เมษายน ค.ศ.1874 เมืองโบโลนยา อิตาลี
เสียชีวิต 20 กรกฎาคม ค.ศ 1937 ที่กรุงโรม อิตาลี

        เกิดที่ประเทศอิตาลี บิดาฐานะร่ำรวยเขาจึงได้เข้าเรียนในโรงเรียนกินนอน หลังจากนั้นก็มาศึกษากับสถาบันด้านเทคนิคที่มีชื่อเสียงที่เมืองเล็กฮอร์น เขาใฝ่ฝันที่จะมีอาชีพด้านทหารเรือซึ่งสนใจเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่ยังเป็นเด็กและบิดาก็สนับสนุนเขามาตลอด แต่บังเอิญวันหนึ่งเขาได้ฟังปาฐกถาวิชาฟิสิกส์จาก ศาสตราจารย์ กิออตโต บิสชารีน เขาถึงกับตื่นเต้นสนใจมากขนาดให้แม่จ้างนักฟิสิกส์มาสอนพิเศษที่บ้าน พออายุ 16 ปีเขาก็เริ่มสนใจวิชาไฟฟ้าอย่างดื่มด่ำ ซึ่งสามารถสร้างเครื่องมือถ่ายทอดกระแสไฟฟ้าได้ หลังจากนั้น ขณะศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยโปโลนยา เขาอ่านวารสารฉบับหนึ่ง เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าของ ไฮน์ริช รูดอลฟ เฮิร์ต นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เขาเกิดความมานะที่จะส่งคลื่นไฟฟ้าไปในอากาศ และเขาก็ทำสำเร็จเขาสามารถส่งวิทยุข้ามภูเขาสูงได้ ขณะอายุ 22 ปี ในปี คศ.1895 เขาสามารถประดิษฐ์ กริ่งไฟฟ้าไร้สายขึ้นได้ จนในปี 1897 เขาก็สามารถประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุโทรเลขและทำการทดลองส่งวิทยุโทรเลขไร้สาย ในระยะ 1 ไมล์ มารดาของเขาเห็นความสำคัญของการจดทะเบียนสิทธิบัตร จึงแนะนำให้เขาเดินทางไปอังกฤษเมื่อคนอิตาลีไม่สนใจ ที่นั่นเขาค้นพบเรื่องวิทยุ จนกระทั่งสามารถส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ ในวันที่ 27 มีนาคม คศ.1899 ที่อายุเพิ่งจะ 25 ปี เขาทำงานด้วยความมานะ อดทนบากบั่น มุ่งมั่นต่อความสำเร็จเป็นจุดหมายปลายทาง แม้คนในบ้านเกิดของเขาจะไม่เห็นความสำคัญ กับผลงานที่เขาทำสำเร็จ เพื่อนผู้มีส่วนร่วมในผลงานของเขาคือ แม็กส์เวลล์ ชาวอังกฤษ และเอิร์ท ชาวเยอรมัน และอีกคนคือ แบรนลี่ ชาวฝรั่งเศส
ผลงานการค้นพบ ของ กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marcony) 
  • ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข
  • ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1907 จากผลงานการค้นคว้าและประดิษฐ์วิทยุ
  • ขอบคุณที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org

นิโคลา เทสลา

File:Tesla Sarony.jpg

นิโคลา เทสลา (เซอร์เบีย: Никола Тесла, Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 - ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็น นักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า และ นักทำนายอนาคต เขาเกิดที่ Smiljan ในอดีตออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐโครเอเชีย ภายหลังเขาได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน

เทสลามีปัญหาทางประสาทในวัยเด็ก ที่เขาต้องทุกข์ทรมาน จาก โรคย้ำคิดย้ำทำ เขาได้งานแรกในบูดาเปสต์โดยทำงานที่บริษัทโทรศัพท์ เทสล่าได้ประดิษฐ์ลำโพงสำหรับโทรศัพท์ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางเร่ร่อนไปอเมริกาในปี 2427 เพื่อที่จะไปทำงานกับ โทมัส เอดิสัน แต่ในไม่นาน เขาก็เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการ/บริษัท พัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า ของตัวเองโดยมีผู้สนับสนุนด้านการเงินให้ สิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการจดทะเบียนโดย จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้เทสลาเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไฟฟ้ากระแสสลับด้วย
ผลงานของเทสลาที่ทำให้เขาเป็นสนใจในสมัยนั้นอาทิเช่น การทดลองเกี่ยวกับ คลื่นความถี่สูงและแรงดันไฟฟ้าแรงสูง ใน นิวยอร์ก และ โคโลราโด สปริงซ์, สิทธิบัตรของอุปกรณ์และทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างวิทยุสื่อสาร, การทดลอง X-ray ของเขา, เขายังเป็นผู้คิดค้นตัวกำเนิดสัญญาน (oscillator) หลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ โครงการ Wardenclyffe Tower ซึ่งเป็นความพยายามในการส่งสัญญานไร้สายข้ามทวีปแต่โชคร้ายที่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ
แม้เทสลาจะเป็นผู้คิดค้นสัญญานวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โทมัส เอดิสัน แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล
เทสลาประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและทำให้ผู้คนเห็นถึงความสามารถของจากโชว์สิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่าอัศจรรย์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าเขาจะได้เงินจากสิทธิบัตรต่าง ๆ แต่เขาก็ได้ทำการทดลองอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาต้องเป็นหนี้ และ มีปัญหาด้านการเงิน ต้องอาศัยอยู่อย่างโดษเดี่ยวในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker ด้วยลักษณะและธรรมชาติในการทำงานของเทสลาทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็น "นักวิทยาศาสตร์เพี้ยน"
เทสลาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2486
หลังจากการตายของเขางานของเทสล่าก็ได้เงียบหายไป แต่ในปี 2533 เขาก็เริ่มกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในปี 2548 เขาถูกเสนอชื่อให้เป็นตัวแทน 1 ใน 100 คนในรายการโทรทัศน์ "The Greatest American" โดยการสำรวจนิยมโดย AOL กับ ช่อง Discovery
การทำงานและสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของเขายังเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก และ ยังได้นำไปใช้สนับสนุน pseudosciences (ระบบสรุปผลโดยปราศจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หรือความจริง), ทฤษฎียูเอฟโอ และ ไสยศาสตร์ยุคใหม่ อีกด้วย
ในปี 2503 หน่วยสำหรับวัดความ ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก (ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสนามแม่เหล็ก B \), ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง

ผลงานเด่น

  1. ผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา (Tesla coil) และค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา
  2. ผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless communication)
  3. ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟแบบใช้ก๊าซให้แสงสว่าง หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์
  4. ผู้คิดทฤษฎีของเครื่อง [[เรดาร์]
  5. ผู้คิดรีโมตคอนโทรล                                                                       ขอขอบคุณข้อมูลhttp://th.wikipedia.org

ทอมัส เอดิสัน

File:Thomas Edison2.jpg

ทอมัส แอลวา เอดิสัน (อังกฤษ: Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน
ทอมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟ และสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย
เอดิสันยังคงเป็นบุคคลสำคัญในสงครามกระแสไฟฟ้า (War of Currents) โดยเอดิสันพยายามผลักดันระบบไฟฟ้ากระแสตรงของบริษัท แข่งกับระบบไฟฟ้ากระแสสลับของจอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse) โดยพนักงานในบริษัทของเขาได้โฆษณาชวนเชื่อความอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับโดยการฆ่าหมาแมวเป็นจำนวนหลายตัว

ผลงาน

เอดิสัน นั้นกล่าวได้ว่าเป็นนักประดิษฐ์ที่มีผลงานมากที่สุดในยุคนั้น เขามีสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ภายใต้ชื่อของเขาเป็นจำนวนถึง 1,093 ชิ้น สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเอง แต่เป็นการพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมที่คิดค้นขึ้นโดยลูกจ้างของเขา เพราะเหตุนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ในเรื่องการอ้างผลงานเป็นของตัวแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งปันให้กับผู้คิดค้นดั้งเดิม นอกจากสิทธิบัตรของเขาซึ่งมีอยู่ทั่วโลกแล้ว เอดิสันก็ยังได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ ภายใต้ชื่อ Edison Trust
ในความเป็นจริงแล้ว เอดิสันไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าตามที่คนทั่วไปเข้าใจแต่อย่างใด หลักการของหลอดไฟฟ้าถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้โดยนักประดิษฐ์หลายท่าน เช่น จูเซ็ปป์ สวอน (Juseph Swan) หรือ ไฮน์ริช เกอเบิล (Heinrich Goebel) อย่างไรก็ตามเอดิสันได้คำนึงถึงการนำหลอดไฟฟ้าไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยเอดิสันได้ทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟฟ้ายาวนานพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายในบ้านเรือนหรือร้านค้า นอกจากนั้นเอดิสันยังได้สร้างระบบผลิตและแจกจ่ายไฟฟ้าอีกด้วย
นิตยสารไลฟ์ (Life) ได้ยกย่องให้เอดิสันเป็นหนึ่งใน "100 คนที่สำคัญที่สุดในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา

ขอบคุณที่มาของข้อมูลhttp://th.wikipedia.org

ชาลส์ ดาร์วิน

ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (อังกฤษCharles Robert Darwin FRS12 ก.พ. ค.ศ. 1809 – 19 เม.ย. ค.ศ. 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์ ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950 การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการควบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต
ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติตั้งแต่วัยเด็กทำให้ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระเลย แต่กลับหันไปช่วยการตรวจสอบสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ช่วยกระตุ้นความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากขึ้น การเดินทางออกไปยังท้องทะเลเป็นเวลา 5 ปีกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา ผลงานตีพิมพ์เรื่อง การผจญภัยกับบีเกิล (The Voyage of the Beagle) ทำให้เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเขียน
ด้วยความพิศวงกับการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในภูมิภาคที่แตกต่างกัน กับฟอสซิลที่เขาสะสมมาระหว่างการเดินทาง ดาร์วินเริ่มการศึกษาอย่างละเอียด และในปี ค.ศ. 1838 จึงได้สรุปเป็นทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ[ แม้ว่าเขาจะอภิปรายแนวคิดของตนกับนักธรรมชาติวิทยาหลายคน แต่ก็ยังต้องการเวลาเพื่อการวิจัยเพิ่มเติม โดยให้ความสำคัญกับงานด้านธรณีวิทยา เขาเขียนทฤษฎีของตนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1858 เมื่อ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ส่งบทความชุดหนึ่งที่อธิบายแนวคิดเดียวกันนี้มาให้เขา และทำให้เกิดการรวมงานตีพิมพ์ของทฤษฎีทั้งสองนี้เข้าด้วยกันในทันที งานของดาร์วินทำให้เกิดวิวัฒนาการสืบเนื่องต่อมา โดยดัดแปลงมาเป็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลยิ่งต่อแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีววิทยาในธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1871, เขาได้ตรวจดู วิวัฒนาการของมนุษย์ และ การคัดเลือกทางเพศ ใน The Descent of Man, and Selection in Relation to Sex ตามด้วย The Expression of the Emotions in Man and Animals. งานวิจัยเกี่ยวกับพืชได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดหลายเล่ม ในเล่มสุดท้ายเขาได้ตรวจสอบ ไส้เดือน และอิทธิพลที่มันมีต่อดิน
ดาร์วินได้รับยกย่องในฐานะนักวิทยาศาสตร์โดยมีการจัดพิธีศพอย่างเป็นทางการในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ และฝังร่างของเขาไว้เคียงข้างกับจอห์น เฮอร์เชล และไอแซก นิวตัน เขาได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
ขอบคุณที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

File:Einstein1921 by F Schmutzer 2.jpg

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมัน: Albert Einstein - อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"
หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์ ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะ ความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์สไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ให้เป็นเครื่องหมายการค้า
ตัวไอน์สไตน์เองมีความระลึกถึงผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีผลมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เขาได้เป็นปูชนียบุคคลแห่งความบรรลุทางปัญญา เขายังคงถูกยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน ทุกการสร้างสรรค์ของเขายังคงเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งในความเชื่อในความสง่า ความงาม และความรู้แจ้งเห็นจริงในจักรวาล (คือแหล่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่) เป็นสูงสุด ความชาญฉลาดเชิงโครงสร้างของเขาแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของจักรวาล ซึ่งงานเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านผลงานและหลักปรัชญาของเขา ในทุกวันนี้ ไอน์สไตน์ยังคงเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุด ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และนอกวงการ
ไอน์สไตน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2498 ด้วยโรคหัวใจ (ไอน์สไตน์พึ่งตาย เพลินกล่าวไว้)
ผลงานของไอน์สไตน์ในสาขาฟิสิกส์มีมากมาย ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่ง:
  • ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งนำกลศาสตร์มาประยุกต์รวมกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นไปตาม equivalence principle
  • วางรากฐานของจักรวาลเชิงสัมพัทธ์ และค่าคงที่จักรวาล
  • ขยายแนวความคิดยุคหลังนิวตัน สามารถอธิบายจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวพุธได้อย่างลึกซึ้ง
  • ทำนายการหักเหของแสงอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงและเลนส์ความโน้มถ่วง
  • อธิบายการเกิดปรากฏการณ์ของแรงยกตัว
  • ริเริ่มทฤษฎีการแกว่งตัวอย่างกระจายซึ่งอธิบายการเคลื่อนที่ของบราวน์ของโมเลกุล
  • ทฤษฎีโฟตอนกับความเกี่ยวพันระหว่างคลื่น-อนุภาค ซึ่งพัฒนาจากคุณสมบัติอุณหพลศาสตร์ของแสง
  • ทฤษฎีควอนตัมเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอะตอมในของแข็ง
  • Zero-point energy
  • อธิบายรูปแบบย่อยของสมการของชเรอดิงเงอร์
  • EPR paradox
  • ริเริ่มโครงการทฤษฎีแรงเอกภาพ                                                                                                        
  •       ขอบคุณที่มาของข้อมูลhttp://th.wikipedia.org

มารี กูรี

File:Mariecurie.jpg
มารี ซกวอดอฟสกา-กูรี (อังกฤษMarie Skłodowska-Curie) มีชื่อแต่แรกเกิดว่า มารยา ซลอเมีย ซกวอดอฟสกา (โปแลนด์Marya Salomea Skłodowskaเสียงอ่าน: [ˈmarja salɔˈmɛa skwɔˈdɔfska]7 พฤศจิกายน 2410 - 4 กรกฎาคม 2477) นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน
       
ประวัติ
 มารีเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 ที่กรุงวอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์ ก่อนที่เธอจะสมรสกับปิแอร์ คูรี่เธอชื่อว่า มารียา สโคลดอฟสกา (Marja Sklodowska) บิดาของเธอชื่อว่า วลาดิสลาฟ สโคลดอฟสกา เป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงวอร์ซอร์ บิดาของเธอมักพาเธอไปห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนด้วยเสมอ ทำให้เธอมีความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ต่อมารัสเซียได้เข้ามายึดโปแลนด์ไว้เป็นเมืองขึ้น อีกทั้งกดขี่ข่มเหงชาวโปแลนด์ และมีคำสั่งให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวเท่านั้นเพื่อป้องกันการก่อกบฏ ทำให้ครอบครัวของ
มารีและชาวโปแลนด์ต้องได้รับความลำบากมากทีเดียว

          หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว มารีได้เข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง และรับสอนพิเศษให้กับ เด็ก ๆ แถวบ้าน มารีและพี่สาวของเธอบรอนยา ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนอนุบาลเช่นเดียวกัน ทั้งสองมีความตั้งใจว่าถ้าเก็บเงินได้มากพอเมื่อใดจะไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส แต่รายได้เพียงน้อยนิด ทำให้ทั้งสองต้องเก็บเงินอยู่เป็นเวลานานก็ยังไม่พอ ดังนั้นทั้งสองจึงตกลงกันว่าจะนำเงินเก็บมารวมกัน โดยให้บรอนยาไปเรียนต่อแพทย์ก่อน เมื่อบรอนยาเรียนจบ แล้วหางานทำจึงส่งมารีไปเรียนต่อวิทยาศาสตร์บ้าง ดังนั้นบรอนยาจึงเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสเพื่อเข้าศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยปารีส (Paris University) หลังจากเรียนจบบรอนยาได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับมารี ในปี ค.ศ.1891 มารีได้เดินทางไปยังประเทศ
ฝรั่งเศส เพื่อศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปารีส มารีต้องใช้ความอดทนและพยายามอย่างมากในการอยู่ที่ปารีส เพราะเงินที่บรอนยาส่งมาให้ใช้จ่ายน้อยมาก เพียงพอต่อค่าห้องพักและค่าอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเสื้อผ้ามารีไม่มีเงินเหลือพอที่หาซื้อมาใส่ให้ร่างกายอบอุ่นได้ ทำให้เธอเจ็บป่วยอยู่บ่อยครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นมารีก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่กับการอ่านหนังสือและด้วยเหตุนี้ทำให้เธอได้มีโอกาสได้พบกับปิแอร์ คูรี่ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมห้องทดลองและอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยปารีสด้วยความที่ทั้งสองมีชีวิตที่คล้าย ๆ กัน และมีความรักในวิชาวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน ปิแอร์และมารีตกลงใจแต่งงานกันในปี ค.ศ.1895 และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จนกระทั่งปิแอร์เสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1906 จากอุบัติเหตุรถชน

         ในระหว่างนั้นมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านทำการทดลองและค้นพบรังสีหลายชนิด เช่น ในปี ค.ศ.1879 วิเลี่ยม ครุกส์(William Crooks) พบรังสีคาโทด (Cathode Ray) ในปี ค.ศ.1895 วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilheim Konrad Roentgen) ค้นพบรังสีเอกซ์ (X- ray) และอังตวน อังรี เบคเคอเรล (Anton Henri Becquere) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของปิแอร์ และมาได้ค้นพบกัมมันตภาพรังสีจากแร่ยูเรเนียม จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์หลายท่านทำให้มารีมีความคิดที่จะทดลองหากัมมันตภาพรังสีจากแร่ชนิดอื่นบ้าง การทดสอบหารังสียูเรเนียมทำได้โดยการนำธาตุมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาโรยใส่แผ่นฟิล์มถ่ายรูป แต่ต้องทำให้ห้องมืด เพื่อไม่ให้แสงโดนฟิล์ม จากนั้นจึงนำไปล้างถ้าปรากฏจุดสีดำบนแผ่นฟิล์ม 
แสดงว่าธาตุชนิดนั้นสามารถแผ่รังสีได้ นอกจากนี้ยังสามารถทดสอบได้จากเครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้า (Electroscope)มารีได้ร่วมมือกับสามีของเธอคือ ปิแอร์ คูรี่ ทำการค้นหารังสียูเรเนียมจากธาตุชนิดอื่น มารีได้นำธาตุเกือบทุกชนิดมาทำการทดสอบหารังสียูเรเนียม ทั้งธาตุที่มีสารประกอบยูเรเนียมผสมอยู่ และธาตุที่ไม่มียูเรเนียมผสมอยู่ จากการทดสอบทั้งสองพบว่า ธาตุที่เป็นสารประกอบยูเรเนียมสามารถแผ่รังสียูเรเนียมได้ แต่ก็ให้กำลังน้อยมากอีกทั้งการสกัดยูเรเนียมออกมาก็ทำได้ยาก 
แต่มารีก็ยังไม่ละความพยายามเธอยังค้นหาและแยกธาตุชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย มารีใช้เวลานานหลายปีในการทดสอบแร่ และในที่สุดเธอก็พบว่าในแร่พิทซ์เบลนด์ (Pitchblende) ซึ่งเป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของแร่ยูเรเนียม และสามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า แต่การที่แร่พิทซ์เบลนด์สามารถแผ่รังสีได้ น่าจะมีธาตุชนิดอื่นผสมอยู่ มารีตั้งชื่อธาตุชนิดนี้ว่า เรเดียม (Radium)มารีได้นำผลงานการค้นพบธาตุเรเดียมมาทำวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก เมื่อคณะกรรมการพิจารณารายงานของเธอ พร้อมกับซักถามเกี่ยวกับรายงานอย่างละเอียด คณะกรรมการได้ลงมติให้รายงานของเธอผ่านการพิจารณา ทำให้เธอได้รับปริญญา
เอกจากผลงานชิ้นนี้เองปิแอร์ และมารีได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรเดียมต่อไปเพื่อแยกธาตุเรเดียมออกจากแร่พิทซ์เบลนด์ให้ได้แต่ทั้งสองก็ต้องพบกับอุปสรรคมากมาย ตั้งแต่ห้องทดลองที่คับแคบ อีกทั้งเครื่องมือในการทดลองก็เก่า และล้าสมัย รวมถึงในขณะนั้น มารีได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนแรก ทำให้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกด้วย แต่ทั้งสองก็ยังคงพยายามแยกเรเดียมให้บริสุทธิ์ ซึ่งก็ยังมีโชคดีอยู่บ้างที่ทางมหาวิทยาลัยปารีสได้อนุญาตให้ทั้งสองใช้ห้องหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ กับห้องทดลอง
เป็นสถานที่แยกเรเดียมได้ดังนั้นในปี ค.ศ.1898 ทั้งสองจึงเริ่มทำการค้นคว้าหาวิธีแยกเรเดียมอย่างจริงจัง โดยมารีได้สั่งซื้อเรเดียมจากออสเตรียจำนวน 1 ตัน เพื่อใช้สำหรับการทดลอง ทั้งสองพยายามแรกแร่เรเดียมด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี เช่น ใช้สารเคมี บดให้ละเอียดแล้วนำไปละลายน้ำ แยกด้วยไฟฟ้าและใช้เครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้าบางชนิด เป็นต้น ในที่สุดทั้งสองก็พบวิธีการแยกเรเดียม
บริสุทธิ์ ได้สำเร็จในปี ค.ศ.1902 และเรียกเรเดียมบริสุทธิ์นี้ว่า "เรเดียมคลอไรด์ (Radium chloride)" เรเดียมบริสุทธิ์นี้สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 กว่าเท่า ในขณะที่แร่ พิทช์เบลนด์แผ่รังสีได้มากกว่ายเรเดียมเพียง 4 เท่า 
เท่านั้น อีกทั้งเรเดียมบริสุทธิ์ยังมีสมบัติสำคัญอีกหลายประการ ได้แก่ สามารถให้แสงสว่าง และความร้อนได้ นอกจากนี้เมื่อเรเดียมแผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับเรเดียม

          ต่อมาในระหว่างที่ปิแอร์ทำการทดลองเกี่ยวกับธาตุเรเดียมอยู่นี้ บังเอิญรังสีโดนผิวหนังของปิแอร์ ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนบนผิวหนังบริเวณนั้นอีกทั้งยังมีรอยแดงเกิดขึ้น แม้ปิแอร์จะตกใจเมื่อเห็นเช่นนั้นแต่ด้วยความอยากรู้ เขาจึงทำการค้นคว้า
ทดลองเกี่ยวกับเรเดียมที่มีผลกระทบต่อผิวหนัง จากการค้นคว้าทดลองปิแอร์สรุปได้ว่าเรเดียมสามารถรักษาโรคผิวหนังและโรคมะเร็งได้ ทั้งสองได้นำผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่ให้กับสาธารณชนได้รับรู้ และจากผลงานชิ้นนี้ทั้งสองได้รับมอบรางวัลจากสมาคม 
วิทยาศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่ เหรียญทองเดวี่ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน และ ค.ศ.1903 ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ รวมกับเบคเคอเรลผู้ค้นพบรังสีจากธาตุยูเรเนียม นอกจากนี้ทั้งสองยังได้รับเงินสนับสนุนจากสภาวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส
ในการจัดซื้อแร่พิทช์เบลนด์ ซึ่งทั้งสองเหมาะสมที่จะได้รับรางวัลเหล่านี้เป็นที่สุด เพราะแม้ว่าการแยกแร่เรเดียมออกจากธาตุพิทช์เบลนด์จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลาในการค้นหานานถึง 4 ปี ก็ตาม แต่ทั้งสองก็ไม่ได้นำผลงานชิ้นนี้ไปจดทะเบียนสิทธิบัตร อีกทั้งยังเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ในปี ค.ศ.1906 ปิแอร์ได้ประสบอุบัติเหตุรถชนทำให้เสียชีวิตทันที นำความเศร้าโศกเสียใจมาสู่มารีเป็นอันมาก แต่เธอก็ไม่ได้ละทิ้งการทดลองวิทยาศาสตร์

         ต่อมามหาวิทยาลัยปารีสได้อนุมัติเงินก้อนหนึ่งให้กับมารี ในการจัดสร้างสถาบันเรเดียม พร้อมกับอุปกรณ์อันทันสมัย เพื่อทำการทดลองค้นคว้าและแยกธาตุเรเดียม สำหรับประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป จากการค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุเรเดียมอย่างจริงจังในปี ค.ศ.1911 มารีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์อีกครั้งหนึ่งจากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากเรเดียมเพิ่มเติม มารีได้ออกแบบ
สถาบันแห่งนี้ด้วยตัวของเธอเอง สถาบันแห่งนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1914 ถึงแม้ว่าจะมีห้องทดลองและอุปกรณ์ที่ทันสมัยแล้วแต่ก็มีเหตุที่ทำให้การทำงานต้องหยุดชะงัก เพราะได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ผู้ช่วยและคนงานที่ทำงานในสถาบันเรเดียม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เมื่อเป็นเช่นนั้นมารีจึงสมัครเข้าร่วมกับอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ อีกทั้งยังนำความรู้ไปใช้ในงานครั้งนี้ด้วย เธอจัดตั้งแผนกเอกซเรย์เคลื่อนที่ขึ้น เพื่อตระเวนรักษาทหารที่บาดเจ็บตาม หน่วยต่าง ๆ มารีได้รักษาทหารที่บาดเจ็บด้วยรังสีเอกซ์มากกว่า 100,000 คน

         หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง มารีได้กลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง และผลจากการทดลองค้นคว้าเรเดียมทำให้เธอได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีของเรเดียม ทำให้ไขกระดูกเธอถูกทำลาย และเสียชีวิตในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934


ขอบคุณที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org

กาลิเลโอ กาลิเลอี

File:Galileo.arp.300pix.jpg

กาลิเลโอ กาลิเลอี (อิตาลี: Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่บิดาแห่งวิทยาศาสตร์และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่
การศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่งคงที่ ซึ่งสอนกันอยู่ทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาฟิสิกส์ก็เป็นผลงานของกาลิเลโอ รู้จักกันในเวลาต่อมาในฐานะวิชาจลนศาสตร์ งานศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของกาลิเลโอได้แก่ การใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์คาบปรากฏของดาวศุกร์ การค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน รวมถึงการสังเกตการณ์และการตีความจากการพบจุดดับบนดวงอาทิตย์กาลิเลโอยังมีผลงานด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยพัฒนาการออกแบบเข็มทิศอีกด้วย
การที่ผลงานของกาลิเลโอสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสกลายเป็นต้นเหตุของการถกเถียงหลายต่อหลายครั้งในชีวิตของเขา เพราะแนวคิดเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลนั้นเป็นแนวคิดหลักมานานแสนนานนับแต่ยุคของอริสโตเติล การเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีข้อมูลสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนจากกาลิเลโอช่วยสนับสนุน ทำให้คริสตจักรโรมันคาทอลิกต้องออกกฎให้แนวคิดเช่นนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะขัดแย้งกับการตีความตามพระคัมภีร์ กาลิเลโอถูกบังคับให้ปฏิเสธความเชื่อเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในบ้านกักตัวในความควบคุมของศาลศาสนาโรมัน

ประวัติ


 กาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของโลก ดยเฉพาะผลงานด้านดาราศาสตร์เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด การทดลองและการค้นพบของเขามีประโยชน์มากมายหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ เช่น พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ พบดารบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นต้น การพบลักษณะการแกว่งของวัตถุซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องจับเวลา และนาฬิกาลูกตุ้ม อีกทั้งการที่เขาสามารถพัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้วิชาด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น อีกทั้งเขายังเป็นบุคคลที่มีความกล้าหาญในการแนวความคืดต่างๆ เกี่ยวกับทฤษฎีดังเดิมที่ผิดของอาริสโตเติล ซึ่งนำมาทำความเดิอนร้อนกับเขาเอง ทั้งการถูกต้องขังและก้าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตต่อต้านคำสั่งสอนของศาสนา ซึ่งเกือบทำให้เขาเสียชีวิตถ้าไม่ยอมรับความผิดนี้ แม้ว่าเขาจะยอมรับผิด แต่เขาก็ไม่หยุดการค้นคว้และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไป กาลิเลโอมักมีแนวความคิดที่แตกต่างไปจากคนอื่นเสมอ และเขาจะไม่ยอกเชื่อทฤษฎีต่าง ๆ ที่รับการเผยแพร่ออกมาในอดีตและในยุคนั้น กาลิเลฌอต้องทำการทดลองเสียก่อนมี่จะเชื่อถือทฤษฎีข้อนั้น และด้วยนิสัยเช่นนี้เขาได้รับฉายาว่า The Wrangler ฉายาของกาลิเลโออันนี้ในปัจจุบัน ได้ใช้ความหมายถึง "ผู่เชี่ยวชาญ" มหาลัยอ็อกฟอร์ด และมหาลัยเคมบริดจ์
             กาลิเลโอเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศิตาลี บิดาของเขาเป็นขุนนาง นักคณิตศาสตร์ นักดนตรีและนักเขียนที่มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร บิดาของเขามีชื่อว่า วินเซนซิโอ กาลิเลโอ กาลิเลโอได้รับการศึกษาขั้นตนที่เมืองปิซานั้นอง กาลิเลโอนักเรียนที่เฉลียวฉลาด และมีความสามารถหลายด้าน ทั้งวาดภาพ และเล่นดนตรี และคณิตศาสตร์ บิดาของกาลิเลโอต้องการให้ให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา แต่กาลิเลโอมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากกว่า จนกระทั่งครั้งหนึ่งกาลิเลโอได้มีโอกาสได้เขาฟังการบรรยายในวิชาคณิตศาสร์ ทำให้เขาเลิกเรียนวิชาแพทย์ และไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์แทน
             การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของกาลิเลโอเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1584 เมื่อเขากำลังนั่งฟังบทสวดมนต์ในโบสถ์แห่งหนึ่ง เขาสังเกตเห็นโคมแขวนบนเพดานโบสถ์แกว่งไปแกว่งมา เขาจึงเกิดความสงสัยว่า การแกว่งไปมาของโคมแต่ละรอบใช้เวลา เท่ากันหรือไม่ ดังนั้นเขาจึงทดลองจับเวลาการแกว่งไปมาของโคม โดยเทียบกับชีพจรของตัวเอง เนื่องจากเขาเคยเรียนวิชาแพทย์ ทำให้เขารู้ว่าจังหวะการเต้นของชีพจรของคนในแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาเท่ากัน ผลปรากฎว่า ไม่ว่าโครมจะแกว่งในลักษณะในลักษณะใดก็แล้วแต่ ระยะเวลาการแกว่งไปและกลับครบ 1รอบ จะเท่ากันเสมอ เมื่อเขากลับบ้านได้ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้หลายครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทฤฎีที่เขาจะตั้งขึ้นถูกต้องที่สุด ซึ่งผลการทดลองก็เหมือนกันทุกครั้ง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า กฎเพนดูลัม หรือกฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม กาลิเลโอได้นำหลักการจาการทดลองครั้งนี้มาสร้างเครื่องจับเวลาซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1656 คริสเตียน ฮอยเกนส์ ได้ทฤษฎีนี้มาสร้างนาฬิกาลูกตุ้ม
             ต่อมาในปี ค.ศ.1585 กาลิเลโอได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย เพราะไม่มีเงินพอสำหรับการเรียนต่อ เขาได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ และได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันฟลอเรนทีน (Florentine Academy) ในระหว่างนี้กาลิเลโอ ได้เขียนหนังสือขึ้นมา 2 เล่ม เล่มแรกชื่อว่า Hydrostatic Balance เป็นเรื่องเกี่ยวกับตาชั่ง ส่วนอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Center of Gravity เป็นเรื่องเกียวกับจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง เล่นที่ 2 นี้เขาเขียนเนื่องจากมาร์เชส กวิดูบาลโด เดล มอนเต เปซาโร (Marchese Guidubald Del Monte of Pasaro) ซึ่งเป็นผู้มีพระคุณต่อเขา ขอร้องให้เขียนขึ้น จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เองทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี ค.ศ.1588 กาลิเลโอได้รับการติดต่อให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชา คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปิซา ในปีค.ศ.1591 ในระหว่างที่กาลิเลโอทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยปิซา เขาได้ทฤษฎีของอาริสโตเติลมาทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ทฤษฎีที่ว่านี้คือ ทฤษฎีที่มีน้ำหนักมากกว่าและวัตถุที่มีน้ำหนักเบา จะตกถึงพื้นพร้อมกัน แต่การที่อาริสโตเติล สรุปทฤษฎีนี้ เช่นนี้เป็นผลเนื่องมาจากอากาศช่วยพยุงวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้มากกว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ถ้าทำการทดลอง ในสุญญากาศจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวัตถุตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอได้นำความจริงข้อนี้ไปชี้แจงกับทางมหาวิทยาลัย ผลปรากฎว่า มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เขาจึงทำการทดลองอีกครั้งเพื่อให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจนโดยนำก้อนตะกั่ว 2 ก้อน ก้อนหนึ่งหนัก 10 ปอนด์ อีกก่อนหนึ่งหนัก 20 ปอนด์ ทิ้งลงมาจากหอเอนปิซาพร้อมกัน ผลปรากฎว่าก้อนตะกั่วทั้ง2 ก้อนตกถึงพื้นพร้อมกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของอาริสโตเติลผิด และของกาลิเลโอถูกต้อง แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่ยึดถือทฤษฎีของอาริสโตเติลอย่างเหนียวแน่นก็ยังไม่เชื่อกาลิเลโออยู่ดี อีกทั้งยังกลั่นแกล่งจยกาลิเลโอ ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซา
ผลงานค้นพบที่สำคัญของ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)



  • ได้ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม
  • การค้นพบเรื่องของหนักกับของเบาจะตกลงถึงพื้นพร้อมๆกัน
  • ผู้ค้นพบหลักวิชาพลศาสตร์ (Dynamic) การเคลื่อนไหวของระยะการยิงปืนใหญ่วิถีกระสุนจะเป็นวิถีโค้ง
  • สร้างกล้องโทรทัศน์ดูดาวบนท้องฟ้า ผิวของดวงจันทร์ การค้นพบความแตกต่างของดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ว่าดาวเคราะห์มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์ ส่วนดาวฤกษ์นั้นมีแสงสว่างพุ่งออกมา และยังค้นพบจุดดำบนดวงอาทิตย์
  • พบทางช้างเผือก (Milky Way)


  • ผลงานด้านงานเขียน ของ กาลิเลโอ



  • Hydrostatic Balance บทความที่ว่าด้วยเรื่องตาชั่ง
  • Center of Gravity of Solid, หนังสือว่าด้วยจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง
  • Letter on the Solar Spots,หนังสือว่าด้วยจุดดำในดวงอาทิตย์และระบบสุริยะว่าโลกและดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางระบบสุริยะ
  • Dialogo Die Due Massimi Sistemi Del Mondo หนังสือต้องห้ามที่ห้ามจำหน่ายใน อิตาลีเพราะผิดกับระบบศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับดาวหางนั้นมาจากเกิดแสงของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ
  • ค้นพบทางช้างเผือก (Milky Way)
  •                                                                                                  
  • ขอบคุณที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org
  • หลุยส์ ปาสเตอร์


    หลุยส์ ปาสเตอร์  27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) นักเคมีและนักจุลชีววิทยาเกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410
    ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
    การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปีพ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
    ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์

    ประวัติ

    File:Tableau Louis Pasteur.jpg


    หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ.1822 ที่เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาต้องการให้หลุยส์ เป็นครูจึงส่งเข้าไปเรียนที่กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาและได้เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้32ปี จุลชีพเป็นสิ่งที่ปาสเตอร์สนใจมากทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยหากทิ้ง เนื้อไว้กลางแจ้งและทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากแต่ไม่มีใครรู้ว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน แต่ปาสเตอร์ ไม่ค่อยแน่ใจนัก เขากลับไปยังวิทยาลัยที่เคยเรียนในกรุงปารีสซึ่งเขา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ เขาใช้เวลา ทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ ในที่สุดหลุยส์ก็ค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่ บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องที่เรา รู้จักกันทุกวันนี้ ต่อมาปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีรักษา โรคกลัวน้ำ หลังจากทำการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้งเขาก็ ประสบผลสำเร็จซึ่งการค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำใหความหวังแก่ ผู้คนในหลายประเทศ หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1895 มีผู้คนมากมายโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา เขาไม่เพียงแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังเป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย
    ผลงาน
    -ค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่ให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์
    -ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า


    ขอบคุณที่มาของข้อมูล
    http://th.wikipedia.org

    ไอแซก นิวตัน


    File:GodfreyKneller-IsaacNewton-1689.jpg

    เซอร์ไอแซก นิวตัน (อังกฤษIsaac Newton) (4 มกราคม ค.ศ. 1643-31 มีนาคม ค.ศ. 1727 ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ 25 ธันวาคม ค.ศ. 164220 มีนาคม ค.ศ. 1726 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ

    งานเขียนในปี พ.ศ. 2230 เรื่อง Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica (เรียกกันโดยทั่วไปว่า Principia) ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชากลศาสตร์ดั้งเดิม ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง กฎแรงโน้มถ่วงสากล และ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันซึ่งเป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ บนโลกและวัตถุท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และช่วยให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
    นิวตันสร้างกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่สามารถใช้งานจริงได้เป็นเครื่องแรก และพัฒนาทฤษฎีสีโดยอ้างอิงจากผลสังเกตการณ์ว่า ปริซึมสามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกมาเป็นหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของสเปกตรัมแสงที่มองเห็น เขายังคิดค้นกฎการเย็นตัวของนิวตัน และศึกษาความเร็วของเสียง
    ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับก็อตฟรีด ไลบ์นิซ ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีแคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์ เขายังสาธิตทฤษฎีบททวินาม และพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่ารากของฟังก์ชัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษาอนุกรมกำลัง
    นิวตันไม่เชื่อเรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากกว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสียอีก เขาต่อต้านแนวคิดตรีเอกภาพอย่างลับๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนื่องจากปฏิเสธการถือบวช
    ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
    ประวัติ
    เซอร์ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ อังกฤษมในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจในการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องจักร เครื่องกล แต่พออายุได้ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่การศึกษามากขึ้น พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจจะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนบิดา แต่เขาไม่ชอบ นิวตันเป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นอยู่กับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น เป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆ ซึ่งใช้กำลังงานกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ ปี 1665 เขาก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้พอเกิด โรคระบาด มหาวิทยาลัยปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลา ต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆ ด้วยตัวเอง คิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เขาได้สังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเช่น การสัเกตการหล่นของผลแอปเปิ้ล ที่ให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้ โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และต่างๆ อยู่ในระบบสุริยะ คนที่ไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แต่นิวตันรู้และสามารถพิสูจน์ได้ว่า แสงที่เราเห็นว่า ไม่มีสีหรือที่เรียกว่ามีสีขาวเกิดจากสีรุ้งนั่นเอง นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกัน และมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตี พิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปเคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ แบบมีตัวสะท้อนแสง แล้วกล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมในราชสมาคมชั้นนำของนักวิทยา ศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของ แสง นิวตันและฮุคจึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันอีกเลย นิวตันยังมีความสนใจในสิ่งนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาก็ได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ของราชสำนัก ซึ่งผลิดเหรียญที่ใช้กันในประเทศถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิด บางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสคร์ เชื่อในทฤษฏีที่ดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถเปลี่ยนโลหะเช่น ทองแดงให้เป็นทองได้ ในสมัยของนิวตัน ผู้คนมีเชื่อกันเช่นนี้มาก ซึ่ง ในปัจจุบันเราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคลที่มุ่งทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสุขอยู่กับการทดลอง วิทยาศาสตร์และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรารดาศักดิ์เป็นท่าน " เซอร์"เมื่อมีอายุร่วม 60 ปีแล้วเซอร์ ไอแซคนิวตัน ถึ่งแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งในปัจุบันนี้มีอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอ่ยู่ แม้ว่ามทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็น บุคคลสำคัญคนหนี่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์
    ผลงาน   
    File:NewtonsTelescopeReplica.jpg
    - ตั้งกฎแรงดึงดูดของโลก

            - ตั้งกฎเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

            - ตั้งทฤษฎีแคลคูลัส (Calculus)

            - ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง

            - ค้นพบสมบัติของแสงที่ว่า แสงสีขาวประกอบขึ้นจากแสงสีรุ้ง


    ขอบคุณที่มาของข้อมูลhttp://th.wikipedia.org